หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
องค์การบริหารส่วนตำบล ข้าวเม่า ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
ที่ทำการ อบต.ข้าวเม่า
นมัสการ หลวงปู่ดู พรหมปัญญา วัดสะแก
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.ข้าวเม่า
1
2
3
 

การจัดการองค์ความรู้ KM
 
 


 
การคัดแยกขยะมูลฝอย  

ลำดับภาพที่ 1/5

ลำดับภาพที่ 2/5

ลำดับภาพที่ 3/5

ลำดับภาพที่ 4/5

ลำดับภาพที่ 5/5
<<
>>
X
คลิกที่ภาพเพื่อขยาย

การคัดแยกขยะมูลฝอยที่ทำได้จริง พร้อมสถานที่ส่งต่อขยะรีไซเคิล
การคัดแยกขยะ เป็นวิธีการหนึ่งในกระบวนการลดปริมาณขยะมูลฝอย ซึ่งเป็นตัวการของปัญหามลพิษของสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ขยะมูลฝอยที่เกิดจากการละเลยการคัดแยกขยะในชีวิตประจำวันของเรา เป็นห่วงโซ่หนึ่งที่นำพาให้คุณภาพของสิ่งแวดล้อม สุขภาพร่างกายและชีวิตโดยรวมแย่ลง วันนี้เรามาทำความรู้จักกับประเภทขยะ การคัดแยกขยะ และสถานที่ส่งต่อขยะรีไซเคิลกันเลย

ขยะมูลฝอย คืออะไร
“ขยะมูลฝอย (WASTE)  คือ สิ่งของเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตและอุปโภคซึ่งเสื่อมสภาพจนใช้การไม่ได้หรือไม่ต้องการใช้แล้ว บางชนิดเป็นของแข็งหรือกากของเสีย (SOLID WASTE) มีผลเสียต่อสุขภาพ ทางกาย และจิตใจ เนื่องจากความสกปรกเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคทำให้เกิดมลพิษและทัศนะอุจาด”

ที่มา: พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535

ผลกระทบจากขยะมูลฝอยที่ไม่ถูกคัดแยกขยะ
ผลกระทบจากขยะมูลฝอยที่ไม่ถูกคัดแยกขยะ ส่งผลเป็นวงกว้าง ทั้งผลกระทบต่อดิน น้ำ อากาศ สุขภาพของคนในพื้นที่นั้น และส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมระดับโลก ทั้งภาวะโลกร้อน สัตว์ และพืชทยอยสูญพันธุ์

ประโยชน์ของการคัดแยกขยะ
การคัดแยกขยะ เป็นประโยชน์และถือเป็นหัวใจหลักในการลดปริมาณขยะ เพราะการคัดแยกขยะ ทำให้ขยะถูกส่งต่อไปในกระบวนการที่ถูกต้องได้ง่ายขึ้น เช่น นำไปเผา นำไปรีไซเคิล นำไปย่อยสลาย ฯลฯ แต่ถ้าหากเราไม่คัดแยกขยะ จะทำให้ขยะแยกออกจากกันยาก กลายเป็นกองขยะขนาดใหญ่ที่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม การคัดแยกขยะทำได้ง่าย ๆ โดยเริ่มต้นที่การรู้จักประเภทของขยะกันก่อน

4 ประเภทขยะที่ต้องรู้
1. ประเภทขยะอินทรีย์
ขยะอินทรีย์ เป็นขยะมูลฝอยที่ย่อยสลายได้ เช่น เศษอาหาร เศษเนื้อสัตว์ เศษผลไม้ หญ้า กิ่งไม้ ฯลฯ  

สีถังขยะอินทรีย์ ขยะย่อยสลายได้: สีเขียว

การคัดแยกขยะอินทรีย์และการทำให้ย่อยสลาย
ประเภทของขยะอินทรีย์ หรือขยะที่ย่อยสลายได้นั้น เป็นประเภทขยะที่มีปริมาณมากที่สุดในประเทศ คิดเป็น 64% ของประเภทขยะทั้งหมด ถึงแม้ว่าระบบการจัดเก็บขยะมูลฝอยอินทรีย์และการนำไปใช้ประโยชน์ในบ้านเราจะยังไม่เอื้ออำนวยก็ตาม ดังนั้นหากบ้านใครสามารถทำได้ ควรช่วยกันทำการคัดแยกขยะอินทรีย์เพื่อการกำจัด โดยสามารถทำได้เองที่บ้านดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 เตรียมถัง หรือภาชนะทรงสูง เจาะรูระบายน้ำโดยรอบถัง หลังจากนั้นใช้ถุงพลาสติกเจาะรูรอบใส่ลงไปในถัง แล้วจึงนำถังไปฝังดิน โดยให้ปากภาชนะอยู่เหนือพื้นดินเล็กน้อย
ขั้นตอนที่ 2 ใส่เศษอาหาร ผัก ผลไม้ สลับชั้นไปกับดิน หรือปุ๋ยคอก ในสัดส่วนที่เท่า ๆ กัน
ขั้นตอนที่ 3 เมื่อใส่ขยะอินทรีย์สลับกับดิน หรือปุ๋ยคอกจนเต็มแล้ว ให้ปิดฝา แล้วรดน้ำทุก ๆ 7 วันเพื่อเป็นการระบายความร้อน เมื่อครบ 1 เดือนก็จะได้ปุ๋ยหมักสีดำ สามารถนำไปใช้ผสมดินเพื่อปลูกผักหรือใส่ในต้นไม้ได้
อ้างอิงจาก: กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

2.ประเภทขยะรีไซเคิล

ขยะรีไซเคิล เป็นขยะที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยการนำไปแปรรูปด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ และนำกลับมาใช้ใหม่ เช่น กระดาษ พลาสติก แก้ว โลหะ กระป๋อง ฯลฯ เป็นหนึ่งประเภทที่สามารถทำการคัดแยกขยะได้ง่ายที่สุด ช่วยลดปริมาณขยะมูลฝฝอยภาพรวม และลดการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้

สีถังขยะรีไซเคิล: สีน้ำเงิน

วิธีการคัดแยกขยะรีไซเคิลในชีวิตประจำวัน
แก้ว เช่น ภาชนะใส่อาหาร ใส่เครื่องดื่ม ขวดเครื่องสำอาง ขวดครีม ฯลฯ สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท

1. แก้วดี คือ ขวดแก้ว หรือบรรจุภัณฑ์และภาชนะแก้วที่ไม่มีรอยแตกร้าว หรือรอยบิ่น เมื่อนำเข้าโรงงานจะทำการล้างและนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เรียกว่า “Reuse”

2. แก้วแตก คือ ขวดแก้วที่แตก หัก บิ่น จะถูกนำมาแยกตามสี (สีใส สีชา และสีเขียว) และเข้าเครื่องบดเพื่อหลอมใหม่ ซึ่งโรงงานจะใช้แก้วแตกเหล่านี้ประมาร 30-40% ในการผลิตแก้วใบใหม่ ช่วยลดการใช้พลังงานความร้อนเมื่อเทียบกับการผลิตแก้วจากวัสดุธรรมชาติแบบ 100%

กระดาษ เป็นวัสดุที่ใช้พลังงานกว่า 1 ใน 5 ของโลกในการผลิตจากพลังงานที่ใช้ทั้งหมด แต่ปัจจุบันมีกระดาษเพียงแค่ 60% เท่านั้นที่มีการคัดแยกขยะ และนำมาเป็นขยะรีไซเคิล ผลิตภัณฑ์กระดาษที่ร้านของเก่ารับซื้อมี 7 ประเภท คือ กระดาษถ่ายเอกสาร กระดาษน้ำตาล (กระดาษลัง) กระดาษบิลเอกสาร กระดาษหนังสือพิมพ์ กระดาษสมุด กระดาษหนังสือ (เป็นเล่ม หรือไม่เป็นเล่มก็ได้) และกระดาษสี

พลาสติก แบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภท

1. พลาสติกคงรูปถาวร คือพลาสติกที่ผ่านกระบวนการขึ้นรูปแบบแข็งตัว ไม่สามารถหลอมกลับมาได้ เช่น แก้วน้ำ หรือจานชาม

2. พลาสติกที่สามารถนำกลับไปใช้ใหม่ได้ ทางที่ดีควรแยกตามประเภทของพลาสติก 7 ประเภท สามารถดูที่สัญลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์
ลหะ ทั้งเหล็กหล่อ เหล็กรูปพรรณ เฟืองรถ นอต ตะปู ตะแกรง ท่อไอเสีย ปั๊มน้ำ เพลาท้ายรถ เหล็กสังกะสี กระป๋อง อลูมิเนียม ฯลฯ
3.ประเภทขยะอันตราย
ขยะอันตราย เป็นขยะที่มีการปนเปื้อนสารอันตราย วัตถุมีพิษ วัตถุกัดกร่อน วัตถุติดเชื้อและวัตถุไวไฟ เช่น ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ หลอดไฟ กระป๋องสเปรย์ ฯลฯ หากทิ้งรวมกับขยะทั่วไปจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก ให้แยกออกจากขยะประเภทอื่น ๆ อย่างชัดเจน ใส่ถุงหรือกล่อง แล้วค่อยนำไปทิ้ง หรือเรียกใช้บริการเก็บขยะแทน

สีถังขยะอันตราย: สีแดง

4.ประเภทขยะทั่วไป
ขยะทั่วไป เป็นขยะที่ไม่เข้าพวกกับกลุ่มขยะ 3 ประเภทแรก เป็นขยะที่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ หรืออาจเป็นขยะที่ไม่คุ้มค่าในการนำมาแปรรูป เช่น ถุงอาหารเปื้อนแกง เศษผ้า ซองขนม เซรามิก กระเบื้องแตก ฯลฯ ให้แยกออกจากประเภทอื่น ๆ เพื่อนำไปทำพลังงานความร้อนใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้

 

ข่าว ณ. วันที่ 12 มี.ค. 2562 เวลา 09.21 น. โดย องค์การบริหารส่วนตำบลข้าวเม่า

ผู้เข้าชม 141 ท่าน

 
 
 
 
องค์การบริหารส่วนตำบลข้าวเม่า อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13210 โทรศัพท์ : 035-770-182  
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2551 ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2537 องค์การบริหารส่วนตำบลข้าวเม่า  
จำนวนผู้เข้าชม 9,329,556 เริ่มนับ 17 ธ.ค. 2561 จัดทำโดย : NAXsolution.com  
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | แผนผังเว็บไซต์  
Version ขั้นต่ำของ Browser IE9 / Firefox 3.5 / Chrome / Safari4 / Opera10  
รับเรื่องร้องเรียน
035-770-182